วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปย่อปรัชญาการศึกษา


1. ปรัชญาสารัตนนิยม (essentialism)  ปรัชญานี้มาจากการผสมผสานระหว่าง ปรัชญาจิตนิยม กับปรัชญาสัจนิยมรู้จักสร้างวินัยในตนเอง ครูเป็นผู้ให้ นักเรียนเป็นผู้รับ หลักสูตรเน้นเนื้อหาวิชา และหลักสูตรสหสัมพันธ์ วิธีสอนให้นักเรียนมุ่งรับรู้และจดจำ ใช้การปาฐกถา

 2. ปรัชญานิรันตรนิยม (pernialism)   มุ่งไปที่คุณงามความดีอันสูงสุด ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการพัฒนาปัญญาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ของมนุษย์ทโรงเรียนส่งเสริมผู้เรียนให้รู้จักคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม เน้นระเบียบวินัย ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการบรรยายในการรับรู้ จดจำ

3.ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (progressivism)   มุ่งพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง จัดหาประสบการณ์ วิธีการแก้ปัญหาเพิ่มความรู้ให้กว้างขวางจะจัดกิจกรรมนอกสถานที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ตรง

4.ปรัชญาปฏิรูปนิยม (reconstructionism)   
การเรียนรู้ที่มีค่าต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริงในชีวิตจริงของผู้เรียน ไม่นิยมท่องจำ และครูผู้สอน มีความสามารถสร้างสรรค์สังคมขึ้นมาใหม่และจะไม่ละเลยความสำคัญทางสังคม

5.ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (existentialism)
 มนุษย์เกิดมาเพื่อเสรีภาพพร้อมที่จะเลือกและรับผิดชอบสิ่งที่ตนเลือก การจัดการเรียนการสอน มุ่งที่จะพัฒนาผู้เรียนดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเองออกมา แสดงออกอย่างอิสระ ครูเป็นเพียงที่ปรึกษานักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง

6.พุทธปรัชญา  
ประยุกต์หรือสร้างปรัชญาตามแนวพุทธธรรม มีการพัฒนาขันธ์ 5 ซึ่งยังมีอกุศลมูลอยู่ จะได้ลดน้อยถอยไป และได้บรรลุถึงชีวิตที่ร่มเย็นตามควรแก่กรณี จัดให้ผู้เรียนได้ประสบกับผู้รู้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่ามรรค 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ปฏิรูปการศึกษาไทย
คุณภาพการศึกษาไทยที่พบในโลกจริง
-   ท่องจำอย่างเดียวทำให้ไม่เข้าใจ
     -    เด็กไทยอ่านออกเขียนได้ในระดับที่จำกัด
     -    เด็กไทยจำนวนมากไม่มีโอกาสได้เรียนต่อในระดับสูง

     -    บัณฑิตไม่สามารถทำงานได้ ทำงานไม่เป็น เป็นต้น
สิ่งที่ทำให้การศึกษาไทยล้มเหลว
         -    ขาดความรับผิดชอบ
         -    หลักสูตร เน้นท่องจำมากกว่าสอนให้คิดเป็น
         -    รัฐไม่ใส่ใจจัดสรรงบประมาณให้น้อย
         -     เด็กไทยเรียนน้อยเกินไป ทำให้ขี้เกียจ
การพัฒนาการศึกษาของไทย
          ในสมัยก่อนการศึกษาไทยจะมีสถานที่อยู่ตามบ้าน ตามวัด และวัง  
 การศึกษาในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงซึ่งการศึกษาจะเน้นการฝึกฝนวิชาชีพการบ้านการเรือนต่างๆ  
   การศึกษาในวัดจะเป็นสถานที่ศึกษาสำหรับผู้ชายซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปทางจริยธรรม ภาษาบาลีเพื่อใช้บวชเรียนทางพระพุทธศาสนาต่อไป  
   การศึกษาในวังจะมีการศึกษาที่สูงกว่าที่บ้านละที่วัดแต่จะมีในวงจำกัดแค่พระราชวงศ์และข้าราชการในพระสำนักพระราชวังเท่านั้นมีการสอนภาษาอังกฤษ มีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงเพื่อขยายการศึกษาไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 
 การศึกษาไทยในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่เปิดกว้างโดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนารูปแบบการศึกษา เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคใหม่ในปัจจุบัน

สถานการณ์การศึกษาไทย 2557
     การวิจัยของ PISA ทำให้ทราบถึงการเปรียบเทียบความสามารถทางด้านการคิด การอ่านและคำนวณ ของนักเรียนอายุ 15 ปีทั่วโลก พบว่านักเรียนไทยมีการศึกษาด้อยกว่าสิงคโปร์และเวียดนาม และในวิจัย The World Economic Forum พบว่าการศึกษาไทยด้อยที่สุดในสมาชิกอาเซียน การศึกษาของไทยด้อยและแย่ที่สุด เด็กไทยเพียงแค่ 1 ใน 3 คนที่จะมีโอกาสเข้าโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ




วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

วิวัฒนาการศึกษาไทย ตอนที่ 1

ประวัติการศึกษาไทย

 สมัยโบราณ

การศึกษาสมัยโบราณจะมีบ้านเป็นศูนย์กลางในการขัดเกลาจิตใจของสมาชิกในบ้าน วัดเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษา ผู้ชายและผู้หญิงศึกษาด้านต่างๆที่ไม่เหมือนกัน  ผู้ชายส่วนใหญ่นิยมบวชเรียนทางพระพุทธศาสนา ผู้หญิงส่วนจะนิยมเรียนงานบ้านงานเรือนและการเย็บปักถักร้อย

 สมัยสุโขทัย

การศึกษาสมัยในสมัยสุโขทัยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
ผู้ชายเน้นไปที่การบวชเรียนเป็น ศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆและแบบผู้หญิงจะเน้นไปที่การเป็นกุลสตรีที่ดีมีความถนัดในด้านการบ้านการเรือน
สถานที่ที่ใช้ศึกษา มี 4 ประเภท คือ
1. บ้าน  เป็นสถานที่ศึกษาที่แรกสามารถเรียนได้ทั้งผู้ทั้งชายและผุ้หญิง  
2. วัด ผู้ชายใช้ศึกษาพระไตรปิฎก จริยธรรม
3. สำนักพระราชบัณฑิต เป็นสถานศึกษาของผู้ที่มีตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์
4. พระราชวัง  เป็นสถานที่ศึกษาของเชื้อราชวงศ์

 สมัยอยุธยา
การศึกษาสมัยอยุธยาจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
-       แบบทหาร  ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับการใช้อาวุธในแบบต่างๆ และศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำศึกทำสงคราม
-       แบบพลเรือน  ส่วนใหญ่พลเรือนผู้ชายจะบวชเรียนทางพระพุทธศาสนา ส่วนพลเรือนผู้หญิงจะเรียนด้านงานบ้านงานเรือนการเย็บปักถักร้อยหรือการทำอาหาร
และในสมัยอยุธยามีการสร้างตำราเรียนขึ้น ชื่อว่า จินดามณี และมีการตั้งโรงเรียนมิชชันนารี


สมัยธนบุรี

การศึกษาในสมัยธนบุรีจะมีวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาหรือสถานที่เรียน โดยจะมีพระสงฆ์เป็นครูผู้สอนหนังสือด้านการประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษาของคนส่วนใหญ่ถ้าพ่อแม่ประกอบอาชีพอะไรก็จะถ่ายทอดให้ลูกประกอบอาชีพนั้น ส่วนผู้หญิงสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับการบ้านการเรือน

 สมัยรัตนโกสินทร์

ในสมัยรัตนโกสินทร์จะมีการจัดการศึกษาโดยมุ่งให้เด็กชายไทยนั้นเข้าวัดเพื่อเรียน ส่วนชนชั้นขุนนางผู้มีตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์นั้นจะเน้นในเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาการเรียนรู้งานช่าง การใช้เครื่องกล เครื่องมือต่างๆ  ในสมัยนี้ยังไม่ส่งเสริมให้สตรีไทยได้รับการศึกษาได้มากเท่าที่ควร

 สมัยใหม่

การศึกษาในสมัยใหม่ได้มีการนำเอาการศึกษาแบบตะวันตกเข้าเกี่ยวข้องในรูปแบบการของการศึกษาไทยมีสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมกันทางการศึกษาของทุกเพศจากการเลิกทาส จากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ มีการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการศึกษา 

สถาณภาพการศึกษาไทยที่พบในโลกจริง
1. เด็กไทยอ่านออกเขียนได้ในระดับที่จำกัด
2. เด็กไทยจำนวนมากไม่มีโอกาสได้เรียนต่อในระดับสูง
3. ท่องจำแต่ไม่เข้าใจ
4. บัณฑิตไม่สามารถทำงานได้ ทำงานไม่เป็น เป็นต้น
        อะไรทำให้การศึกษาไทยล้มเหลว
1. รัฐไม่ใส่ใจจัดสรรงบประมาณให้น้อย
2. ครูเงินเดือนน้อย คนเก่งไม่มาเป็นครู
3. เด็กไทยเรียนน้อยเกินไป ไม่ขยัน
ซึ่งสาเหตุปัญหาเหล่านั้นไม่เป็นแบบนี้จริงๆ
 ซึ่งสาเหตุปัญหาเหล่านั้นไม่เป็นแบบนี้จริงๆ
สาเหตุ ของการล้มเหลวของการศึกษา คือ ความรับผิดชอบ
หลักสูตร การศึกษาไทยเน้นการท่องจำมากกว่าสอนให้คิดเป็น